วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553

เฉลยแบบฝึกหัดประจำเดือนธันวาคม

  1. ก           2. ก         3. ก         4. ง        5. ค
  6. ก           7. ง         8. ข         9. ค      10. ง
11. ค         12. ก       13. ค       14. ค      15. ง
16. ข         17. ง       18. ค        19. ก      20. ก
21. ข         22. ค       23. ก        24. ง      25. ข
26. ค         27. ง        28. ก        29. ข     30. ง

แบบฝึกหัด

วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552

แบบทดสอบประจำเดือนธันวาคม

เรื่อง คำไวพจน์


 1. คำไวพจน์มีกี่นัย
      ก. 1 นัย          ข. 2 นัย          ค. 3 นัย          ง. 4 นัย
 2. ทินกร ทิวากร ระพี มีความเดียวกับข้อใด

      ก. สุริยา         ข. พง             ค. เมทินี         ง. มารชิต
 3. ข้อใดมีความหมายเดียวกับคำว่า “นงราม”

      ก. บังอร         ข. อุไร           ค.  รชตะ         ง. วิตตรี
 4. ข้อใดไม่ความหมายเดียวกับคำว่า “รัมภา”
      ก. อัจฉรา       ข. เทวี            ค. อัปสร        ง. ทิชากร
 5. ข้อใดมีความหมายว่า “พ่อ”

      ก. ฤดี             ข. วิฬาร          ค. ปิตุรงค์      ง. พจนา


เรื่อง ประวัติพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

 
 6. พ่อขุนรามคำแหงเป็นพระโอรสของใคร
      ก. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์                         ข. พ่อขุนบาลเมือง
      ค. พระยาลิไทย                                     ง. พระสุริยวงศ์บรมปาล
 7. พ่อขุนรามคำแหงเคยทำยุทธหัตถีที่เมืองใด
      ก เมืองศรีสัชนาลัย                                ข. เมืองสองแคว             
      ค. เมืองราชบุรี                                      ง. เมืองตาก
 8. พ่อขุนรามคำแหงเคยทำยุทธหัตถีกับใคร
       ก. ขุนช้าง      ข. ขุนสามชน           ค. ขุนแผน             ง. พระอุปราช
 9. พ่อขุนรามคำแหงประดิษฐ์ลายสือไทยใน พ.ศ. ใด
      ก. 1824        ข. 1825                   ค. 1826                   ง. 1827
10. พ่อขุนรามคำแหงทรงรับศาสนาพุทธนิกายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ จากที่ใด
      ก. ขอม          ข. ศรีลังกา               ค. พม่า                     ง. ลังกา


เรื่อง อักษรไทย


11. อักษรไทยวิวัฒนาการมาจากอักษรใด
     ก. อักษรพราหณี                            ข. อักษรมอญ                                  ค. อักษรขอมหวัด                           ง. อักษรฟินิเชียน
12. ในปี พ.ศ.๑๘๒๖ พ่อขุนรามคำแหงประดิษฐ์อักษรไทยที่เรียกกันว่า   อะไร

      ก. ลายสือไทย                               ข. ลายสือขอมขอม                   
      ค. ลายสือมอญ                              ง. ลายสือพม่า
13. ไตรยางศ์ มีกี่หมู่
       ก. 2 หมู่           ข. 3 หมู่              ค. 4 หมู่               ง. 5 หมู่
14. สระมีกี่รูป
      ก. 12 รูป           ข. 20 รูป             ค. 21 รูป              ง. 32 รูป
15. "อุ" สระที่อยู่ใต้ตัวออเรียกว่าอะไร
      ก. หยาดน้ำค้าง    ข. ฝนทอง        ค. ตีนคู้                ง. ตีนเหยียด
16. ";" เรียกว่าอะไร
      ก. โคมูตร           ข.อัฒภาค          ค. วิภัชภาค          ง. ทวิภาค
17. ":" เรียกว่าอะไร
      ก. โคมูตร           ข.อัฒภาค          ค. วิภัชภาค          ง. ทวิภาค
18. “:-” เรียกว่าอะไร
      ก. โคมูตร           ข.อัฒภาค          ค. วิภัชภาค          ง. ทวิภาค
19. “ใช้เติมท้ายเมื่อจบเล่ม” เป็นหน้าที่ของเครื่องหมายวรรคตอนใด

      ก. โคมูตร           ข.อัฒภาค           ค. วิภัชภาค          ง. ทวิภาค
20. “ทำหน้าที่ขึ้นต้นบท” คือเครื่องหมายใด
      ก. ฟองมัน          ข. อังคั่นเดียว      ค. วิภัชภาค         ง. อังคั่นคู่

เรื่อง ชนิดของคำ

21. คำนามมีกี่ชนิด        
         ก. 4 ชนิด           ข. 5 ชนิด             ค. 6 ชนิด            ง. 7 ชนิด
22. คำสรรพนามมีกี่ชนิด
      ก. 4 ชนิด           ข. 5 ชนิด            ค. 6 ชนิด            ง. 7 ชนิด
23. คำกริยามีกี่ชนิด
      ก. 4 ชนิด           ข. 5 ชนิด             ค. 6 ชนิด            ง. 7 ชนิด
24. คำวิเศษร์มีกี่ชนิด
      ก. 7 ชนิด           ข. 8 ชนิด             ค. 9 ชนิด            ง. 10 ชนิด
25. คำอุทานมีกี่ชนิด 
         ก. 1 ชนิด           ข. 2  ชนิด             ค. 3 ชนิด            ง. 4 ชนิด
26. “ฝูงนก” เป็นคำนามชนิดใด
       ก. สามานยนาม                            ข. อาการนาม   
       ค. สมุหนาม                                 ง. ลักษณะนาม
27.  “ที่ ซึ่ง อัน” เป็นสรรพนามชนิดใด 
        ก. บุรุษสรระนาม                         ข. ปฤจฉาสรรพนาม

        ค. นิยมสรรพนาม                        ง. ประพันธสรรพนาม
28.  “เป็น เหมือน คล้าย” เป็นคำกริยาชนิดใด
        ก. วิกตรรถกริยา                          ข. สกรรมกริยา
        ค. อกรรมกริยา                            ง. กริยานุเคราะห์
29. “เธออย่าเปิดไฟทิ้งไว้” คำที่เป็นตัวเอียงเป็นคำวิเศษณ์ชนิดใด
        ก. กาลวิเศษณ์                            ข. ประติเษธวิเศษณ์
        ค. ประพันธวิเศษณ์                      ง. ปฤจฉาวิเศษณ์
30.  “ทำไมไม่อ่านหนังสือหนังหา” คำที่เป็นตัวเอียงเป็นคำอุทานชนิดใด
        ก. อุทานแสดงอารมณ์                 ข. อุทานเสริมบท
        ค. ไม่มีข้อถูก                              ง. ข้อมูลไม่ชัดเจน